มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท พร้อมฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เผยความคืบหน้าโครงการปลูกป่าอมก๋อย ภายใต้แนวคิด “อมก๋อยโมเดล สร้างอมก๋อยน่าอยู่ คู่ป่าต้นน้ำ

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564 มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท พร้อมด้วยฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล พร้อมทั้งทีมงานทรูปลูกปัญญา ร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปลูกป่าอมก๋อย ภายใต้แนวคิด “อมก๋อยโมเดล สร้างอมก๋อยน่าอยู่ คู่ป่าต้นน้ำ”

คุณกฤตยรัฐ ปารมี ผู้จัดการฝ่ายภาครัฐและสนับสนุนปฏิบัติการ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร กล่าวว่า สำหรับความก้าวหน้าของอมก๋อยโมเดล 1 – 6 ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมหารือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาคม และได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในแต่ละหมู่บ้านเบื้องต้น ซึ่งผู้นำทุกหมู่บ้านตอบรับและยินดีร่วมมือ โดยหลังจากนี้จะมีอีกหลายพื้นที่ในหมู่บ้านอื่นๆ ที่จะขยายการพัฒนาเพิ่มเติมและขับเคลื่อนร่วมกันได้ มีรายละเอียดดังนี้

โมเดล 1 ปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่ ได้มีการขับเคลื่อนใน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาเกียน บ้านห้วยปูลิง บ้านยางเปียง และบ้านปิตุคี โดยได้รับอนุญาตในการใช้พื้นที่ พร้อมทั้งมีนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านสายพันธุ์และการปลูกที่เหมาะสม

โมเดล 2 ข้าวไร่ 1-2-3 มีบ้านปิตุคี ที่มีความพร้อมในการเป็นโมเดลต้นแบบ โดยได้ศึกษาสายพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่ และเตรียมแผนการเก็บเชื้อพันธุ์ข้าว

โมเดล 3 ปลูกป่าต้นน้ำ ภายใต้โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยมีพื้นที่เพื่อดำเนินงานร่วมกัน จากการสำรวจโมเดลที่ 1 – 2 โดยมีตำบลยางเปียง เป็นหมู่บ้านต้นแบบ

โมเดล 4 เกษตรมูลค่าสูง ได้แก่ พื้นที่บ้านห้วยปูลิง และบ้านยอด โดยหารือกับเกษตรอำเภอใช้ฝักทองเป็นพืชนำร่อง พร้อมหาพื้นที่ลังรวบรวมสินค้าเกษตร

โมเดล 5 กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ได้แก่ พื้นที่บ้านห้วยปูลิง และบ้านยอด โดยเริ่มต้นกลไกการรวมกลุ่มผู้ผลิตฝักทอง จากโมเดล 4 พร้อมทั้งส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มและองค์ความรู้การแปรรูปกาแฟ

โมเดล 6 การศึกษา (ทรูปลูกปัญญา) มีจำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านนาเกียง โรงเรียนบ้านอูตูม โรงเรียนบ้านมูเซอ และโรงเรียนบ้านยาครก พร้อมทั้งประสานเรื่องความพร้อมของเครือข่ายสัญญาณ

สำหรับการดำเนินงานทั้ง 6 โมเดล ได้มีการหารือกับทางหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาคมและศึกษาปัญหาเชิงลึกในพื้นที่ครบทุกโมเดล โดยเฉพาะในโมเดลที่ 1 – 3 ได้แก่ กาแฟใต้ร่วมไม้ใหญ่ ข้าวไร่ และปลูกป่าต้นน้ำ เพื่อการอนุรักษ์ โดยในปัจจุบัน ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเกษตรพื้นที่สูง ตำบลนาเกียง และตำบลม่อนจอง ได้มีการจัดประชาคมทำความเข้าใจ และเน้นการขอใช้พื้นที่ที่ถูกต้อง โดยเน้นใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นตัวตั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน

สำหรับโมเดล 3 ปลูกป่าต้นน้ำ ภายใต้โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ร่วมกับกรมป่าไม้ ได้มีการวางแผนร่วมกันกับหลายภาคส่วน และได้เนินการลงพื้นที่สำรวจแปลงเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีพื้นที่รวมกว่า 160 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีการชี้แจงการเข้าร่วมโครงการและการใช้พื้นที่อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ผู้นำและเกษตรกรมองว่า หากเป็นพื้นที่ตำบลยางเปียง จะต้องพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรลงรายชื่อและจำนวนไร่เข้าโครงการ 32 ไร่ และอยู่ในระหว่างสำรวจจำนวนเพิ่มเติม ซึ่งมีความพร้อมที่จะเข้าดำเนินการได้ทันที นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่สามารถสร้างโมเดลที่ 3 ปลูกป่าต้นน้ำได้อีกด้วย


สำหรับการดำเนินงานในโมเดล 4 เกษตรมูลค่าสูง ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากโลตัส โดยมีเป้าหมาย “สร้างความเข้มแข็งและรายได้ที่มั่นคงและเป็นธรรม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกร และส่งมอบผักสดที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในราคาที่เอื้อมถึงได้ให้ลูกค้าของเราทุกวัน” โดยได้มีการลงพื้นที่เข้าเยี่ยมสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อหารือในการขับเคลื่อนแผนวางนโยบายร่วมกัน โดยเข้าไปขับเคลื่อนหา พื้นที่ที่จะเป็นที่คัดบรรจุ แปรรูปและรวบรวมสินค้าเกษตรให้ได้

นอกจากนี้ยังลงพื้นที่ร่วมกับเกษตรอำเภอในการรวบรวมแปลงพืชผัก โดยเน้นเป็นฝักทอง ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่อมก๋อยมีศักยภาพและทักษะที่ดีในการสร้างผลผลิต แต่ขาดทักษะในด้านการตลาด ซึ่งเป็นสินค้าต้นแบบที่จะสิ่งที่สามารถดำเนินการพัฒนาการรับซื้อได้ภายในปี 2564 พร้อมทั้งเป็นการต่อยอดโมเดลที่ 5 กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) จากกลุ่มเกษตรกรปลูกฝักทอง




ด้านโมเดล 6 การศึกษา ได้รับความร่วมมือจากทรู (ทรูปลูกปัญญา) โดยได้มีการลงพื้นที่โรงเรียนขยายโอกาส 4 โรงเรียน ใน 3 ตำบลเป้าหมาย เพื่อศึกษาปัญหาเชิงลึก ได้แก่ โรงเรียนบ้านนาเกียง โรงเรียนบ้านอูตูม โรงเรียนบ้านมูเซอ และโรงเรียนบ้านยาครก เพื่อศึกษาเชิงลึกและหารือกับผู้บริหารและคณะครูโรงเรียน โดยยินดีที่จะร่วมมือและพัฒนาภายใต้อมก๋อยโมเดล เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีทักษะการเรียนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ทุกโรงเรียนยังมีความพร้อมในการจัดการสัญญาน ซึ่งมีเสาสัญญาณทรูตั้งอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียน จึงพร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ทันที

นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสนำเสนอโมเดลการศึกษาในที่ประชุมประจำอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย โดยมีมติเห็นชอบแผนงานโดยรวมอมก๋อยโมเดล โดยมีข้อเสนอแนะ 2 เรื่อง คือ ในด้านการศึกษา ควรเน้นการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนที่ทุรกันดารและขาดโอกาสในการพัฒนา และเรื่องเกษตรมูลค่าสูง ให้เน้นย้ำการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ที่ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้เปิดพื้นที่ใหม่ โดยให้ส่วนราชการในระดับอำเภอบูรณาการร่วมกันภายใต้อมก๋อยโมเดล

คุณจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์และกรรมการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า สำหรับภาพรวมการดำเนินงานทั้ง 6 โมเดล ในปี 2564 มีความคืบหน้าตามแผน 65% โดยการดำเนินงานในส่วนต่างๆ ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ สำหรับโมเดลข่าวไร่ ที่มีเป้าหมาย 400 ไร่ จะต้องเร่งดำเนินการหาพื้นที่เพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนเป้าหมาย ส่วนโมเดลปลูกป่าต้นน้ำเพื่อการอนุรักษ์ จะต้องเริ่มลงมือดำเนินการตามแผน โมเดลเกษตรมูลค่าสูง ก็ได้มีฝักทองเป็นพืชนำร่องและต่อยอดพัฒนาโมเดลกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ของกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกฟักทอง ในส่วนโมเดลการศึกษา เบื้องต้นได้มีการนำเสนอแผนการพัฒนาไว้ 6 โรงเรียน โดยจะมีการนำเสนอแผนในลำดับต่อไป

######

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Scroll to Top